ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

 มีผู้ออกแบบไหม?

ปีกผีเสื้อที่ดูดแสงได้

ปีกผีเสื้อที่ดูดแสงได้

เพื่อมนุษย์จะพึ่งพาเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์หรือเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลง นักวิทยาศาสตร์พยายามช่วยกันคิดหาวิธีพัฒนาเครื่องมือที่สามารถเก็บสะสมพลังงานแสงอาทิตย์ให้ดียิ่งขึ้น นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งบอกว่า “วิธีแก้ปัญหานี้อาจ . . . บินไปมาอยู่ตรงหน้าเรานี่แหละ”

เกล็ดเล็ก ๆ บนปีกผีเสื้อมีรูคล้ายรังผึ้ง

ขอพิจารณา: ในช่วงฤดูหนาว ผีเสื้อจะกางปีกรับแสงอาทิตย์เพื่อช่วยให้ตัวมันอุ่นอยู่เสมอ ปีกของผีเสื้อหางติ่งบางชนิดเก็บกักและดูดซับแสงอาทิตย์ได้ดี เคล็ดลับคือปีกของผีเสื้อมีสีเข้มมากและยังมีเกล็ดซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ด้วย เกล็ดขนาดจิ๋วเหล่านี้มีรูเหมือนรังผึ้งเรียงกันเป็นแถว และมีสันคั่นอยู่เป็นแนวยาว สันเหล่านี้มีรูปร่างคล้ายหลังคาทรงจั่วซึ่งช่วยนำแสงเข้าไปในรู ปีกที่ยอดเยี่ยมของผีเสื้อดักแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามาทำให้ปีกมีสีดำสนิทและทำให้ผีเสื้ออบอุ่นได้อย่างน่าทึ่ง

วารสารไซเยนซ์ เดลี (ภาษาอังกฤษ) บอกว่า “ปีกผีเสื้ออาจเป็นโครงสร้างหนึ่งที่บอบบางที่สุดในธรรมชาติ แต่มันเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิจัยคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ พวกเขาหวังว่าจะนำน้ำและแสงอาทิตย์มาผลิตก๊าซไฮโดรเจนเพิ่มเป็นสองเท่า ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานในอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” และอาจใช้เพื่อพัฒนาเครื่องมือตรวจจับแสงและโซลาร์เซลล์ได้ด้วย

คุณคิดอย่างไร? ปีกผีเสื้อที่ดูดแสงได้เกิดขึ้นโดยวิวัฒนาการหรือมีผู้ออกแบบ?