ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ของ​เนสต์เล​และ​อลันด์

ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ของ​เนสต์เล​และ​อลันด์

พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก​ที่​เป็น​ภาษา​กรีก ซึ่ง​เป็น​ฉบับ​พิมพ์​สำหรับ​ผู้​เชี่ยวชาญ มี​ชื่อ​ภาษา​ละติน​ว่า Novum Testamentum Graece (ดู คัมภีร์​ไบเบิล​สำหรับ​ผู้​เชี่ยวชาญ) ฉบับ​แรก​พิมพ์​ใน​ปี 1898 ทำ​ขึ้น​โดย เอบเบอร์​ฮาด เนสต์เล ต่อ​มา​ปรับ​ปรุง​โดย​เออร์วิน เนสต์เล​ซึ่ง​เป็น​ลูก​ชาย​ของ​เขา และ​ต่อ​มา​ก็​ปรับ​ปรุง​อีก​โดย​เคิร์ต อลันด์ และ​ภาย​หลัง​มี​การ​ปรับ​ปรุง​อีก​โดย​มี​บาร์บารา อลันด์ ร่วม​ทำ​ด้วย มี​การ​จัด​พิมพ์​จน​ถึง​ฉบับ​พิมพ์​ที่ 28 ซึ่ง​ตี​พิมพ์​ล่า​สุด​ใน​ปี 2012

ฉบับ​พิมพ์​แรก​ ๆ ผู้​จัด​ทำ​ได้​เปรียบ​เทียบ​ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ของ​ผู้​เชี่ยวชาญ​คน​อื่น​ ๆ และ​เอา​มา​เรียบเรียง​ไว้​ใน​ฉบับ​ของ​พวก​เขา ต่อ​มา​ผู้​จัด​ทำ​ได้​ไป​ค้นคว้า​และ​วิเคราะห์​สำเนา​พระ​คัมภีร์​โบราณ​ที่​มี​อยู่​เพื่อ​จะ​ทำ​ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ให้​ตรง​กับ​พระ​คัมภีร์​ฉบับ​ดั้งเดิม​ให้​มาก​ที่​สุด​เท่า​ที่​เป็น​ไป​ได้ พวก​เขา​พยายาม​ดู​ว่า​ข้อ​ความ​ไหน​เก่าแก่​กว่า และ​ข้อ​ความ​ไหน​มี​การ​เปลี่ยน​แปลง​ใน​เวลา​ต่อ​มา ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ของ​เนสต์เล​และ​อลันด์​เป็น​หนึ่ง​ใน​แหล่ง​อ้างอิง​ที่​มี​การ​ใช้​กัน​อย่าง​แพร่​หลาย​มาก​ที่​สุด​และ​น่า​เชื่อถือ​ที่​สุด มี​เชิงอรรถ​ที่​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​สำเนา​โบราณ​ฉบับ​ต่าง​ ๆ ​มี​ความ​แตกต่าง​ยังไง​บ้าง นี่​ช่วย​ให้​ผู้​เชี่ยวชาญ​ด้าน​คัมภีร์​ไบเบิล​ทราบ​ว่า​ตลอด​หลาย​ศตวรรษ​ที่​ผ่าน​มา มี​การ​คัด​ลอก​ข้อ​ความ​ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ยังไง

คณะ​กรรมการ​การ​แปล​คัมภีร์​ไบเบิล​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่​ได้​ใช้​ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ของ​เวสต์คอตต์​และ​ฮอร์ต (ฉบับ​พิมพ์​แรก​ปี 1881) เป็น​พื้น​ฐาน​ใน​การ​แปล​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก​ฉบับ​แรก (ดู ฮอร์ต, เฟนตัน จอห์น แอนโทนี; เวสต์คอตต์, บรู๊ค ฟอสส์) ตอน​ที่​มี​การ​เตรียม​การ​แปล​ฉบับ​ปรับ​ปรุง​ปี 2013 คณะ​กรรมการ​การ​แปล​ได้​เปรียบ​เทียบ​ข้อ​ความ​พระ​คัมภีร์​ของ​ผู้​เชี่ยวชาญ​คน​อื่น​และ​แหล่ง​ข้อมูล​อื่น​ ๆ รวม​ถึง​ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ของ​เนสต์เล​และ​อลันด์​ฉบับ​พิมพ์​ที่ 28 รวม​ทั้ง​ฉบับ​ของ​สหสมาคม​พระ​คริสตธรรม การ​ค้นคว้า​อย่าง​ละเอียด​ถี่ถ้วน​ช่วย​ให้​คณะ​กรรมการ​การ​แปล​ตัดสิน​ได้​ว่า​ควร​ใช้​ข้อ​ความ​ไหน​เป็น​ข้อ​ความ​หลัก และ​เป็น​ที่​น่า​สังเกต​ว่า​ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​สำหรับ​ผู้​เชี่ยวชาญ​ทั้ง​สาม​ฉบับ​นี้ ซึ่ง​ก็​คือ​ของ​เวสต์คอตต์​และ​ฮอร์ต เนสต์เล​และ​อลันด์ สหสมาคม​พระ​คริสตธรรม แทบ​ไม่​ต่าง​กัน​เลย​จน​ไม่​มี​ผล​ต่อ​ความหมาย—ดู ภาค​ผนวก ก3